ด้านสังคม
มีวัดพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก จำนวน 9 วัด ดังต่อไปนี้
(1) วัดป่าโมกวรวิหาร (2) วัดพินิจธรรมสาร
(3) วัดโบสถ์วรดิตถ์ (4) วัดแจ้ง
(5) วัดอัมพวัน (6) วัดแสนสุข
(7) วัดใหม่พานิช (8) วัดวิหารแดง
(9) วัดสว่างอารมณ์
- ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98
- ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2
มีศาลเจ้า จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย
1. ศาลเจ้าพ่อจุ้ย ตลาดป่าโมก
2. ศาลเจ้าแม่ทับทิม บริเวณคานเรือ
3. ศาลเจ้าแม่ทับทิม บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
4. ศาลเจ้าแม่ทับทิม บริเวณบ้านสายทอง
งานรัฐพิธี
1. วันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. วันเฉลิมพระชนพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
3. วันยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 18 มกราคม ของทุกปี
4. วันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 25 เมษายน ของทุกปี
5. วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ของทุกปี
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ดังนี้
1. ประเพณีทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
2. ประเพณีทำบุญตักบาตรและจัดขบวนแห่วันสงกรานต์
3. ประเพณีงานแห่เจ้าพ่อจุ้ย เดือนกรกฎาคมของทุกปี
4. ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคมของทุกปี
5. ประเพณีการตักบาตรเทโวและแข่งขันเรือยาว เดือนตุลาคมของทุกปี
6. ประเพณีเทศกาลวันลอยกระทง
การท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั้งประเทศคือ พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ ได้มีการชะลอเคลื่อนย้าย องค์พระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นปิดทอง ยาว 12 วา จากริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งพังทลายใกล้จะถึงองค์พระพุทธไสยาสน์ได้สำเร็จจากริมฝั่งแม่น้ำระยะทางประมาณสิบเส้น(400 เมตร) ได้อย่างปลอดภัย พร้อมทั้งสร้างศาลาฉนวนยาวห้าสิบห้อง(ห้าสิบช่วงเสา) ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ รัชกาลที่ 30 แห่งราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา(ปัจจุบันเหลือ 33 ช่วงเสา)
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ณ บริเวณ วัดป่าโมกวรวิหาร ซึ่งเทศบาลจัดสร้างแท่นประดิษฐาน พระบรมรูปของทั้งสองพระองค์ขึ้นใหม่ ริมถนนสายป่าโมก–โผงเผง เนื่องในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมายุครบเจ็ดรอบ 84 พรรษาในปี พ.ศ.2554 |